“โดรน” ไม่ว่าคุณจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicle: UAV), เครื่องบินไร้นักบินขนาดเล็กหรือหุ่นยนต์ขนาดเล็กบินได้ หลายท่านๆ มักจะคุ้นชินกับคำว่า “โดรน” มากที่สุด ซึ่งทราบหรือไม่ว่าโดรนเหล่านี้กํา
ลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มจะได้รับการยอมรับและการใช้งานจํานวนมาก แต่โดรนได้ทําลายอุปสรรคแบบดั้งเดิมที่เป็นเรื่องยากในหลายอุตสาหกรรมซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอื่น ๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดรนได้กลายเป็นศูนย์กลางการทํางานของธุรกิจและองค์กรภาครัฐต่าง ๆ แถมยังสามารถตอบโจทย์บางอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลัง ตั้งแต่การส่งมอบสิ่งของทางอากาศที่รวดเร็วด้วย UAV ในชั่วโมงเร่งด่วน ไปจนถึงการลาดตระเวนจากมุมสูงทางการทหารที่มุมมองจากบุคคลไม่สามารถเข้าถึงได้ คุณสมบัติของโดรนเหล่านี้กําลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่สามารถดําเนินการได้ทันเวลา และยังคงผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการพยากรณ์ของนักวิจัย ตลาดของโดรนจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และในปี 2030 ตลาดโดรนของโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 70.91 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ด้วยอัตราการเติบโต 11.7% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2021
ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน การลดภาระงาน ลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงความแม่นยําการทำงาน พัฒนาบริการ และความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในวงกว้างนั้นเทคโนโลยีที่ผู้คนมักเลือกมาเป็นอันดับแรกๆ นั้นคือเทคโนโลยีด้านโดรน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมทั่วโลก
การนําเทคโนโลยีโดรน (UAV) มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นมีการก้าวกระโดดจากเวทีขนาดเล็ก ไปสู่เวทีระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากธุรกิจจํานวนมากเริ่มตระหนักถึงศักยภาพ และความง่ายต่อการการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวที่แพร่กระจายไปทั่วโลก
โดรนเหล่านี้ ไม่ว่าผู้ใช้จะควบคุมด้วยรีโมทวิทยุ หรือ ผ่านแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ผู้ใช้ก็มีความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ๆ ห่างไกลที่สุดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้กำลังคนเลยแม้แต่น้อย
นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ใหญ่ที่สุดที่ทําให้พวกโดรนเหล่านี้ถูกนํามาใช้ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสี่ภาคส่วน: ได้แก่ ทางทหาร, ทางการค้า, ส่วนบุคคล, การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต
โดยในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี UAV สามารถนำประยุกต์เข้ากับกระบวนการต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับกระบวนการต่างๆได้อย่างมาก เช่น
การถ่ายภาพและวีดีโอทางอากาศ

การส่งสินค้าทางอากาศ

การเก็บข้อมูล หรือ จัดหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดการวางแผนรับมือภัยพิบัติในแต่ละพื้นที่

เซนเซอร์ความร้อนของโดรนสำหรับการปฏิบัติการกู้ภัย

การสร้างแผนที่ทางอากาศในพื้นที่มีความยากในการเข้าถึง

การตรวจสอบความปลอดภัย สภาพความเสียหายของอาคารสูง

การตรวจสอบคุณภาพพืชผลทางการเกษตร

การขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ หรือมนุษย์ ด้วย UAV

การติดตามตำแหน่งของ ภัยพิบัติต่างๆ เช่น ทางน้ำหลาก พายุ และไฟป่า เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดหรือทฤษฎีที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีโดรนในอนาคต แต่ ณ ปัจจุบัน มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้กับกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความน่าสนใจให้กับเทคโนโลยีโดรน เพราะเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีดังกล่าวได้ช่วยแก้ปัญหาของมนุษย์ในหลายๆด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังคงมีการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเทคโนโลยี UAV นี้จะเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจและอุตสหกรรมเป็นอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้