iCreativeSystems

EP.11 eVTOL ทำให้ท้องฟ้าเป็นสีเขียว

เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเพิ่มสูงขึ้น เครื่องบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งด้วยไฟฟ้า (eVTOL) จึงกลายเป็นทางออกที่น่าหวังในการทำให้ท้องฟ้าเป็นสีเขียว บทความนี้สำรวจว่าเทคโนโลยี eVTOL มีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมการบินมีความยั่งยืนมากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร การใช้พลังงานไฟฟ้าและความยั่งยืน           การมีส่วนร่วมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี eVTOL เพื่อความยั่งยืนคือการพึ่งพาระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าต่างจากเครื่องบินทั่วไปที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล eVTOL ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหลายประการ:           1. ลดการปล่อยมลพิษ: eVTOL แบบไฟฟ้าสร้างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปลายท่อไอเสียเป็นศูนย์ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการบิน สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการบินเป็นหนึ่งในแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เติบโตเร็วที่สุด           2. มลภาวะทางเสียงที่ต่ำกว่า: มอเตอร์ไฟฟ้ามีเสียงที่เงียบกว่าเครื่องยนต์เครื่องบินแบบเดิม ซึ่งสามารถช่วยลดมลพิษทางเสียงในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่นได้           3. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูง โดยเปลี่ยนพลังงานส่วนใหญ่ให้เป็นแรงขับเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ส่งผลให้พลังงานสิ้นเปลืองน้อยลง (ภาพจาก : https://www.helicopterinvestor.com/news/94569/are-evtols-sustainable-789/) ความท้าทายและข้อพิจารณา           1. โครงสร้างพื้นฐานในการชาร์จ: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จที่ดีสำหรับ eVTOL ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนการใช้งานอย่างแพร่หลาย และรับประกันว่าจะยังคงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม           2. การรีไซเคิลแบตเตอรี่: เนื่องจาก eVTOL แพร่หลายมากขึ้น การรีไซเคิลแบตเตอรี่จะถือเป็นการพิจารณาด้านความยั่งยืนที่สำคัญต่อไป

ทางบริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด ได้ร่วมเซ็น MOU กับ บริษัท เอนเนอยี่ โปรเฟสชั่นแนล จำกัด

อีกหนึ่งความร่วมมือกับ Partner ของเรา ทางบริษัทได้ร่วมเซ็น MOU กับ บริษัท เอนเนอยี่ โปรเฟสชั่นแนล จำกัด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม เพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Digital Monitoring, Reporting, Verification (dMRV) ในการใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิตอลทั้งจากภาพถ่ายทางอากาศและเทคโนโลยี LiDAR

คณะผู้บริหารและทีมงาน Airosight ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างข้อมูลการนับเหล็กเส้น ที่โรงงานเหล็กของบริษัท เค.ที.เอ็ม.สตีล จำกัด

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 . คณะผู้บริหารและทีมงาน Airosight ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างข้อมูลการนับเหล็กเส้น ที่โรงงานเหล็กของบริษัท เค.ที.เอ็ม.สตีล จำกัด เพื่อพัฒนากระบวนของเทคโนโลยี LiDAR Handheld ของเราในการนับเหล็กในโกดัง เพื่อลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบเหล็กในโรงงาน

งาน “R2G Special Talk & Regional Pitching”

ในวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา . อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา) ร่วมกับเครือข่าย อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดกิจกรรมคัดเลือกผู้ประกอบการนวัตกรรมในงาน “R2G Special Talk & Regional Pitching” ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) ภายใต้แผนงานการส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก (Regional to Global Platform : R2G) . เพื่อเฟ้นหาตัวแทนผู้ประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ราย ในธุรกิจประเภท Product และ ประเภท Platform ที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจสู่ตลาดโลก โดยทาง คุณธิดารัตน์ ตัญตรัยรัตน์ CEO ของบริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด ได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย

ทีมงานจาก AIS ได้นำซิม 5G stand-alone มาให้ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีในโครงการของเรา

วันที่ 12 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา . ทางทีมงานจาก AIS ได้นำซิม 5G stand-alone มาให้ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีในโครงการที่ทางบริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด และทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีร่วมกันพัฒนา ณ อาคารสิรินธรวิศวพัฒน์ F11 ภายในมหาลัยเทคโนโลยีสุรนารี . ทางเรายินดีที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ และขอบคุณที่ให้ความสนใจรวมถึงการสนับสนุนเทคโนโลยี 5G ในโครงการต่าง ๆ ของเรา

จัดนิทรรศการโครงการ “พัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง อว. หลักสูตร WINS รุ่นที่ 3”

วันที่ 27 มี.ค. 2566 ทางบริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด ได้มาออกบูธ ในงาน จัดนิทรรศการแสดงผลงานสินค้านวัตกรรม ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.นครราชสีมา) ตั้งแต่เวลา เวลา 10.30-15.00 น. เพื่อต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในโครงการ “พัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง อว. หลักสูตร WINS รุ่นที่ 3” เพื่อสร้างความร่วมมือและเชื่อมโยงหน่วยงานในกระทรวง อว. และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน . ทางเรายินดีที่ได้แสดงผลงานสินค้านวัตกรรม โดยได้นำ Vilverin VL340 VTOL รุ่นล่าสุดและ Ground Control Station พร้อมซอฟแวร์ควบคุมการบิน รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปจัดแสดงในงานด้วย